หลังจากที่เคยเขียนบทความลงในเว็บบอร์ดแห่งหนึ่งนานมากแล้ว และเว็บบอร์ดนั้นได้ปิดตัวลง ยังไม่ทันที่จะได้เซฟบทความเก็บไว้เพราะว่าเป็นบทความอันแรกๆที่เขียนได้ยาวขนาดนี้ จนวันนึงเกิดไปเจอบทความนี้เปิดให้ดาวน์โหลดจากเว็บ bittorrent แห่งหนึ่ง ตอนแรกก็คุ้นๆนะ เอมันคล้ายๆบทความของเรานะ อ่านไปอ่านมา ทั้งรูปและเนื้อความเกือบทั้งหมดเป็นของเราแน่นอน ก็ดีใจที่มีคนโหลดมาเก็บไว้ก่อนที่จะถูกลบจากเว็บบอร์ด เลยนำมาลงไว้ในนี้อีกครั้ง หวังว่า facebook คงไม่ปิดตัวเหมือนเว็บบอร์ดที่เคยเขียนนะ...



ก่อนอื่นต้องขอบอกพื้นฐานการใช้คอมฯของผู้เขียนก่อนว่า ไม่เคยใช้ MAC OSX มาก่อนเลย ไม่ว่าจะเป็นเวอร์ชั่นไหนๆก็ตาม แต่เคยลง OS ลงในเครื่องสำเร็จบ้าง ไม่สำเร็จบ้าง แต่การทำให้ใช้ Dual Boot กับ XP นั้น เพิ่งจะสำเร็จ
ส่วนพื้นฐานการใช้ XP สามารถแก้ไขปัญหาเบื้องต้น และสามารถกู้ข้อมูลจาก Harddisk ได้ในกรณีที่เกิด windows พังจนไม่สามารถเปิด windows ได้

ที่ต้องชี้แจงพื้นฐานก่อน เพราะว่าการทำการลง MAC OSX ครั้งนี้ ถ้าหลายท่านมีพื้นฐานที่ไม่อาจจะกู้ข้อมูลจาก HARDDISK ถ้าเกิดข้อผิดพลาดใดๆก็แล้วแต่ จะต้องศึกษาให้ดีก่อน เพราะหลายๆท่านอาจจะไม่สามารถกู้ข้อมูลของท่านคืนได้ ในกรณีที่ท่านอาจจะลบ partition ผิดไป

อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำ
- คอมพิวเตอร์ แรงๆ หนึ่งเครื่อง
สเปกที่ผมลง BenQ joybook S41 335
Intel Core2Duo T7500 @2.20GHz
Ram 2048MB DDR2(667)
nVidia GeForce 8600m GS 256MB
HDD 160 GB จริงแล้วใช้พื้นที่ใน HDD ไม่เกิน 10 GB(เฉพาะ OS อย่างเดียว)
DVD-ROM
- แผ่น DVD ของ Leo4All V.2 หรือ V.3โหลดมาจากเว็บบิตต่างประเทศ อ่าวโจรสลัด
- แผ่น Windows PE ของค่ายไหนก็ได้ หรือแผ่นโปรแกรมที่ขอแค่เข้าไปจัดการ Partition ได้ก็พอแล้ว ในที่นี้ของผมใช้ Windows PE ของ Reatogo หาโหลดได้ตามเว็บบิต (น่าจะยังมีบ้าง)

ก่อนอื่น เพื่อให้แน่ใจว่าเครื่องของท่านสามารถลง MAC OSX ได้แน่นอน ท่านควรจะลง OSX โดยใช้ HARDDISK เปล่าๆ 1 ตัวเลย แต่ถ้าท่านไม่สามารถที่จะหา HARDDISK เปล่าๆเพื่อมาลงได้
ก็ต้องลองทำตามขั้นตอนต่อไปนี้แทน แต่ท่านจะต้องเสี่ยงกับการกู้ข้อมูลใน HARDDISK ในกรณีที่เกิดข้อผิดพลาด

เครื่องที่ใช้ทำนี้ผมได้ลง Windows XP SP2 ไว้ก่อนแล้ว
ขั้นตอนการเตรียม HARDDISK
เข้าไปที่ Control Panel ของ Windows เลือกที่ Administrative Tools แล้วก็เปิดโปรแกรม Computer Management หน้าต่างด้านซ้ายคลิกเลือก Disk Management
จะมีลักษณะคล้ายๆภาพดังนี้

HARDDISK ของเครื่องนี้ หลักๆแบ่งเป็น

Partition ของ XP คือ ไดร์ C: ไดร์นี้เป็นไดร์หลักผมจะไม่ยุ่งกับไดร์นี้เลยในการทำช่วงนี้ ไดร์นี้จะต้องเป็น Primary
Partition ที่เราจะใช้คือ G: อันนี้แล้วแต่ท่านจะกำหนดว่าเป็นไดร์อะไรแต่ไดร์นี้ผมสร้างขึ้นมาโดยยังไม่ format ใดๆแค่กำหนดไดร์ให้เฉยๆ ไดร์นี้จะต้องเป็น Primary เช่นกัน
Partition สำหรับเก็บข้อมูล D: และ E: (อันนี้แล้วแต่ว่าท่านจะแบ่งเป็น 2 ไดร์หรือไดร์เดียว ไม่ได้มีความสำคัญอะไร) ไว้สำหรับ Backup ข้อมูลที่เสี่ยงต่อการถูก format จากไดร์ C: ไดร์นี้จะเป็น Primary หรือ Extended ก็ได้ แล้วแต่จะสะดวก
ดูจากลำดับในภาพจากซ้ายไปขวานะครับเพราะค่อนข้างสำคัญ
เพราะตอนลง OSX เค้าจะเรียกไม่เหมือนกัน
ดูจากรูป
ไดร์ C: จะเรียกว่า disk0s1 คือไดร์ที่ 1 จากซ้าย
ไดร์ G: จะเรียกว่า disk0s2 คือไดร์ที่ 2 จากซ้าย
ไดร์ E: จะเรียกว่า disk0s3 คือไดร์ที่ 3 จากซ้าย
ไดร์ D: จะเรียกว่า disk0s4 คือไดร์ที่ 4 จากซ้าย
อาจจะจำยากซักหน่อยแต่ขอให้ดูรูปว่าไดร์ที่ท่านจะลง OSX คือไดร์ที่เท่าไหร่ และจำขนาดความจุของ partition ให้ดี จะได้ไม่สับสนตอนลง OSX


แผ่นของ Leo4All v.2 ที่โหลดมาแล้ว เขียนไฟล์ .ISO ลงแผ่น DVD


ใส่ในเครื่องแล้วก็รีสตาร์ทเครื่องโดยให้บูตจาก แผ่น DVD


เมื่อเริ่มบูตจากแผ่น DVD จะขึ้นมาแบบนี้ ก็กดปุ่มอะไรก็ได้บนคีบอร์ด (ในที่นี้ผมกด Enter) ก่อนที่เวลานับถอยหลังจะเป็น 0 เพื่อเริ่มขั้นตอนการลง


หลังจากนั้นก็จะมีหน้าจอคล้ายๆแบบนี้ อาจจะมีนิ่งไปนานเป็นบางครั้งแต่ก็อย่าเพิ่งใจร้อน เพราะมันกำลังทำงานอยู่สังเกตจากไฟการทำงานของ Harddisk


หลังจากหน้าจอที่มีตัวหนังสือเยอะๆแล้วซักพักใหญ่ ก็จะเข้าหน้าจอนี้

หรือบางท่านที่ไม่ได้ใช้แผ่น Leo4All V.2 จะเป็นแบบนี้




ซักแป๊ปนึงก็จะมีหน้าต่างสำหรับเลือกภาษาในการติดตั้ง ก็เป็นภาษาอังกฤษ อันบนสุด แล้วก็คลิกเครื่องหมายลูกศรด้านล่างเพื่อผ่านไปหน้าต่อไป


จะขึ้นมาแบบนี้ซักแป๊ปเช่นกัน


แล้วก็มาสู่งหน้า Welcome แล้วก็กดปุ่ม continue ต่อไป


อันนี้เป็นหน้ายอมรับข้อตกลงในการใช้ software อ่านเสร็จก็กดที่ปุ่ม Agree


หลังจากนั้นจะมาถึงหน้า Select a Destination จะว่างเปล่าเพราะว่าเรายังไม่ได้เตรียม Partition สำหรับลง OSX


ให้ดูที่แถบ toolbar ด้านบนที่เมนู Utilities เลือก Disk Utilities


รอซักนิดจะมีหน้าต่างขึ้นมาอีกอันแบบนี้ ทางด้านซ้าย 149.1 GB หมายถึง Harddisk ของเครื่อง ส่วนถัดลงมาคือ Partion ที่แบ่งไว้ในตอนแรก
ดูเปรียบเทียบ


สังเกตอันแรก จะเป็น disk0s1 อันนี้คือไดร์ C: ที่ลง windows ไว้
อันที่ 2 คือpartition ที่เราจะลง OSX กัน
อันที่ 3 คือ ไดร์ E: ที่ผมเอาไว้สำหรับ Backup
อันที่ 4 คือ ไดร์ D: ที่ผมเอาไว้สำหรับ Backup เช่นกัน


เลือกอันที่2 disk0s2 หรือไดร์ที่เราจะลง OSX กัน ทางด้านขวาจะเป็นหน้าต่างว่างๆ


แต่ด้านล่างจะบอกขนาด partition ที่เราเลือก มีขนาดเท่าไหร่ เป็นตัวเช็คอีกครั้งว่าเราเลือกไดร์สำหรับลง OSX ถูกต้องหรือเปล่า


จากนั้นด้านบน จะมีปุ่ม Erase กดซะ......


ก็จะเปลี่ยนมาเป็นหน้าให้เลือกว่าจะformat Partition ให้เป็นแบบไหน เลือก Mac OS Extended (Journaled)


เมื่อเลือกเสร็จก็กดปุ่ม Erase ด้านล่าง


จะมีหน้าต่างขึ้นมาเตือนว่า เมื่อกดเลือกแล้วจะทำให้ข้อมูลใน partiton ทั้งหมดถูกลบ ก็ยืนยันไปว่าจะลบ


ใช้เวลาไม่นานนัก


เมื่อเสร็จก็กดปิดหน้าต่างนี้ไป


เมื่อปิดแล้วจะกลับมาที่หน้า Select a Destination แต่จะมีรูป Harddisk อันนึงขึ้นมาด้วย ก็กดเลือกที่รูป


แล้วก็กดปุ่ม continue ต่อไป


จะมาที่หน้า Install Summary


กดปุ่ม Customize ที่ล่างซ้าย


หลังจากนั้นจะเป็น package ที่ติดตั้ง จะติดตั้งสำเร็จแล้วเปิดได้หรือไม่ได้ จะมี error หรือไม่นั้นส่วนใหญ่จะอยู่ที่หน้านี้ ในการติดตั้งครั้งนี้ผมไม่ได้ไปเปลี่ยนแปลงอะไรเลย เดิมๆที่เค้าให้มา


ถ้าอยากจะลองลง driver หรืออย่างอื่นก็ลองเลือกดู เสร็จแล้วก็กดปุ่ม done ด้านขวาล่าง


จะกลับมาที่หน้า Install Summary แล้วก็กดปุ่ม Install ได้เลย


จะขึ้นจอแบบนี้ซักแป๊ป


แล้วก็จะมีหน้าต่างขึ้นมาเพ่อจะเช็คแผ่น DVD ของเราก่อนที่จะลง OSX ถ้าไม่อยากรอก็กด Skip ได้เลย


แล้วก็จะถึงขั้นตอนลง และเครื่องก็จะคำนวณเวลาในการลง MAC OSX


ดูตัวเลข อาจจะเกินจริงเล็กน้อย เพราะเท่าที่ดูเวลาคร่าวๆจะใช้เวลาประมาณ 20 นาทีได้


เมื่อลงเสร็จ จะขึ้นหน้าต่างแบบนี้


เราจะเลือกกดปุ่ม restart หรือว่าจะรอให้เครื่อง restart เองก็ได้


ขึ้นหน้าจอแบบนี้อีกแล้วตอน restart


อย่าลืมนำแผ่นออกก่อนที่เครื่องจะบูตจากแผ่น DVD ปล่อยให้เครื่องstart เองไม่ต้องกดปุ่มใดๆ


จะเป็นหน้าจอลักษณะนี้ ไม่ต้องกลัวว่าเครื่องมันเจ๊งหรือเปล่า เจอแต่ตัวอักษรเต็มไปหมดอีกเช่นเคย


จากนั้นขึ้นหน้าต่างเพื่อเซ็ตค่าๆต่างๆ หน้าแรกเป็นหน้าเลือกภาษา


จะไม่มีภาษาไทยให้เลือก ก็ติ๊กที่ช่อง Show All เสียก่อน


ก็จะมีภาษาไทยแล้ว


เลือกภาษาของ Keyboard


หน้าต่อไปก็เป็นรายละเอียดลองเลือกๆดูตามใจฉัน...


หลังจากนั้นก็เป็นหน้านี้


และหน้านี้... กรอกไปให้หมดหล่ะ...ไม่งั้นมันไม่ให้ continue


หน้านี้ก็เลือกเอาตามใจฉันอีก....


มาถึงหน้า Create Your Account หน้านี้จะให้ใส่ Password ตอนบูตเครื่อง ถ้าคุณไม่ต้องการใส่ password ทุกครั้งที่บูตเครื่องก็ไม่ต้องใส่ Password แล้วก็ continue


หลังจากนั้นจะมีหน้าต่างขึ้นมาเตือน ว่าคุณแน่ใจว่าจะไม่ใส่ password จริงเหรอ? ก็ OK ไป


หน้านี้ก็เลือกรูปแทนตัวคุณคล้ายๆของ windows(หรือ windows มาคล้ายของ OSX)


แล้วก็เป็น Time Zone


ตามด้วยตั้งนาฬิกา และวันที่


แล้วก็ท้ายสุด "อย่าลืมไปลงทะเบียน" เค้าบอกอย่านั้น


สำเร็จไปครึ่งนึงแล้ว (บางคนอาจจะกระโดดดีใจที่ลงได้เรียบร้อยแล้ว....แต่ลืมไปหรือว่าตอนนี้ใช้ windows ไม่ได้แล้ว.....)


ชื่นชมหน่อยซิ 10.5.2


หลังจากชื่นชมไปแล้วว่าลงได้สำเร็จ เราก็จะมากู้ windows คืนกัน


แผ่นบูต windows PE ของ Reatogo ใส่เครื่องแล้วก็บูตผ่านแผ่น CD


เมื่อบูตเสร็จจะมีหน้าตาประมาณนี้


ก็คล้ายๆเดิมในตอนแรก เข้าไปที่ Control Panel ของ Windows เลือกที่ Administrative Tools
แล้วก็เปิดโปรแกรม Computer Management หน้าต่างด้านซ้ายคลิดเลือก Disk Management


สังเกตว่า partition ที่ 2 จากซ้าย จะมีวงเล็บว่า Active คือเมื่อเปิดเครื่องขึ้นมา เครื่องจะอ่าน Partition นี้ก่อนเป็นอันดับแรก ทำให้เราไม่สามารถเปิด windows ในไดร์ C: ได้
จึงต้องปรับเปลี่ยนเล็กน้อย


คลิกขวาที่ partition แรก หรือ ไดร์ C:
จะมีเมนูให้ Mark Partition as Active ก็คลิกเลือก เป็นอันเสร็จ..... แล้วก็รีสตาร์ทได้เลย....(แค่เนี๊ยะ)


อย่าลืมเอาแผ่นออกก่อนที่จะบูตเครื่อง windows XP ก็จะกลับมาแล้ว


ขั้นต่อไปกู้ windows เสร็จ OSX หาย......มันจะต้องกู้ไปกู้มาอย่างงี้เหรอเนี๊ยะ.......


เมื่อบูตเข้า XP เรียบร้อยแล้ว ให้เอาแผ่น Leo4All v.2 ใส่เข้าไปอีกครั้ง เมื่อเปิดในแผ่นจะมีไฟล์อยู่ประมาณนี้ ให้ copy ไฟล์ที่ชื่อว่า CHAIN0 ไปไว้ที่ไดร์ C:


วางไว้ที่นี่เลย....


เสร็จแล้วคลิกขวาที่ My Computer แล้วก็เลือก Properties จะขึ้นหน้าต่างมาเป็น System Properties แล้วเลือกที่แท็บ Advanced
ในส่วนของ Startup and Recovery กดปุ่ม Settings


มีหน้าต่างขึ้นมาอีกก็กดที่ปุ่ม Edit ตามภาพ


เมื่อกดแล้วจะเป็นการเปิดไฟล์ boot.ini จากโปรแกรม Notepad
พิมพ์เพิ่มที่บรรทัดสุดท้ายดังนี้

C:\chain0="MAC OSX Leopard 10.5.2"

เมื่อพิมพ์เสร็จก็ save ไฟล์ เป็นอันเรียบร้อย แล้วก็ปิดหน้าต่างไปให้หมด หลังจากนั้นก็ลอง Restart เครื่องดู อย่าลืม.... เอาแผ่น DVD ออกด้วย


หลังจาก restart จะขึ้นเมนูนี้ อันแรกคือ windows XP ถ้าจะเข้า windows ก็ enter เข้าไปได้เลย
แต่ว่าเราจะลองเข้า OSX ดูซิ


พอ Enter เสร็จ ก็จะเป็นหน้าจอแบบนี้ ถึงหน้านี้จะเป็นการนับถอยหลังว่า ถ้าเราไม่กดปุ่มใดๆมันจะเด้งกลับไปหน้าเมนู ก่อนหน้านี้อีกที ให้กดปุ่มอะไรก็ได้ ก่อนที่จะนับถอยหลังถึง 0


จะเป็นเมนูแบบนี้ ยังจำได้ไหม อันแรกคือ partition windows
อันที่ 2 OSX อันที่ 3 กับ 4 คือ Backup ข้อมูล
ก็เลือกอันที่ 2 แล้วก็ enter เข้าไป


ก็เป็นอันว่า เมียน้อยกับเมียหลวง อยู่ด้วยกันได้แล้ว.......

2 ความคิดเห็น:

On April 1, 2013 at 4:52 PM , JewelryProfile said...

ผมใช้ตัวนี้อยู่อยากลง mac osx มั้งได้หรือเปล่าครับ อยากลงแบบ Dual boot บ้าง ไม่ทราบว่า spec เท่านี้พอมั้ยครับ

http://notebookspec.com/notebook/5090-ASUS-VIVOBOOK-X202E-CT006H.html

 
On July 30, 2016 at 11:47 PM , Unknown said...

ของผมsamsung ativ4 core i3 ram4 nvdia gt790
ไม่ทราบลงmac osx v.ใหนได้บ้าง จะได้เลือกลงถูกครับ ขอบคุณครับ